โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย ภาวะนี้หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคนี้สมัยก่อนเรียกว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome
จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชายและหญิงตามลำดับ
และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
- ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 ,ผู้ที่ได้รับยารักษาความดันโลหิต
- ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
- ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิง ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
- ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่ม 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า
คนกลุ่มใดที่มักจะเป็น Metabolic syndrome
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบแต่น่าจะเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน
พันธุกรรม
การเกิดภาวะนี้ขึ้กับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติทำให้ระดับอ้วนลงพุ่งไม่เท่ากัน ขึ้นกับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด ตารางข้างล่างแสดงเส้นค่ารอบเอวของบางประเทศ สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ประเทศในเอเซียใต้
ประเทศ/กลุ่มประเทศ รอบเอว ชาย/หญิง ประเทศในกลุ่มยุโรป(อเมริกาใช้ 102,88 ซม) 94 80
ประเเทศในเอเซียใต้(จีน อินเดีย มาเลเซีย) 90 80
ประเทศจีน 90 80
ประเทศญี่ปุ่น 85 90
อาหารที่เรารับประทาน
พฤติกรรมการดำรงชีวิต กลไกการเกิดเนื่องจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้มีความดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินในปริมาณที่มากเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อเวลาผ่านไปตับอ่อนไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดเบาหวาน การเกิด Metabolic syndrome จะเกิดก่อนการเกิดโรคเบาหวานภาวะดังกล่าวจะมีอินซูลินมากซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดการทำลายของเยื่อบุผิวหลอดเลือด รวมทั้งมีผลต่อไต ดูกลไกการเกิดโรค
วิธีการวัด
- ใช้สายเมตรธรรมดา
- วัดรอบเอวเหนือสะโพก
- ให้สายขนานกับพื้น
- อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
- วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
- อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาสเป็นสูง ผู้ที่มีอายุ 20พบภาวะนี้เพียง 10% คนที่อายุ 60 มีอัตราการเกิดร้อยละ 40
- เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาสมากกว่าปกติ
- คนอ้วนจะมีโอกาสมากกว่คนผอม
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคสูง
- โรคอื่นๆเช่นความดันโลหิต
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าหากเป็นในกลุ่มโรคนี้แล้วจะมีโรคหลายระบบเช่น
- โรคอ้วนโดยเฉพาะมีเส้นรอบเอวมากกว่ากำหนด
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูง
- ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย
- ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- ไขมัน triglycerideที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ
- เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจ
- เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย
เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย
การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม
- การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
- การับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ
- ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
- ลดสุรา
การรักษาโดยการใช้ยา
เมื่อปรับปรุงพฤติกรรมแล้วปรากฎว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุมการรักษาไขมันในเลือด
- เป้าหมาย
- ลดระดับไขมัน Triglyceride
- เพิ่มระดับไขมัน HDL
- ลดระดับไขมัน LDL
- ยาที่ใช้รักษา
- Fibrate (PPAR alpha agonists)จะลดไขมันและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- Statin ใช้ลดไขมันโดยเฉพาะ ApoB-containing lipoproteins และมีรายงานว่าลดอุบัติการของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น